ปัญหาการกัดกร่อน รางวางสายไฟ FRP cable ladder

ปัญหาการกัดกร่อนจากละอองไอน้ำ

ปัญหาการกัดกร่อน รางวางสายไฟ FRP cable ladder

ปัญหาการกัดกร่อน (Corrosion)  สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ รวมถึงเครื่องจักรที่สามารถก่อเกิดปัญหาซึ่งยากต่อการตรวจสอบได้ เนื่องจากในบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆ ในระบบ การกัดกร่อนสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและอาหาร เนื่องจากต้องเผชิญหน้ากับความชื้นหรือการกัดกร่อนจากวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิต ดังนั้น การมีความรู้ความเข้าใจที่เหมาะสมกับการบำรุงรักษาและป้องกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างราบรื่นและต่อเนื่อง

ภาพรางวางสายไฟชนิดโลหะที่มีไอน้ำตลอดเวลาและทำให้เกิดการกัดกร่อนที่ผิว

การกัดกร่อน รางวางสายไฟ

การกัดกร่อนที่เกิดขึ้นจากสภาวะแวดล้อมนั้นเป็นการกัดกร่อนหรือการสึกหรอที่เกิดขึ้นจากการที่วัสดุได้สัมผัสกับอากาศหรือมลพิษในอากาศมากกว่าการสัมผัสกับของเหลว 

รางวางสายไฟ ถูกกัดกร่อนจากละอองไอน้ำ

โดยเกิดได้ทั้งการสึกหรอแบบแห้ง แบบมีความชื้นผสมและการสะสมของของเหลวบนพื้นผิววัตถุ ซึ่งตัวแปรของการกัดกร่อนจากสภาวะแวดล้อม เช่น ไอน้ำที่เกิดจากกระบวนการผลิตอาหารภายในโรงต้ม ก่อให้เกิดความเปียกชื้นหรือความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity – RH)

ละอองไอน้ำ กัดกร่อน รางวางสายไฟ

ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ก่อให้เกิดอัตราการกัดกร่อนที่เพิ่มมากขึ้นได้ ซึ่งส่วนใหญ่ของเหลวนั้นจะไม่เกาะอยู่บนพื้นผิวของโลหะ ยกเว้นพื้นผิวของโลหะนั้นจะมีสิ่งแปลกปลอม เช่น สนิมที่เริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อความชื้นสัมพัทธ์มีมากกว่า 60%

แนวทางการป้องกัน การกัดกร่อน รางวางสายไฟ

แนวทางการป้องกันการกัดกร่อน

ารเคลือบผิวโลหะ (Coating) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผสมกันระหว่างออกซิเจน น้ำ และ Electrolyte เข้มข้น การเคลือบ   ผิวของวัตถุจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะสามารถใช้ได้ตั้งแต่งานโลหะไปจนถึงวัสดุทดแทนอื่นๆ

การเคลือบด้วยโลหะ (Metal Films) ในเบื้องต้นนั้นโลหะหลายชนิดมีคุณสมบัติการป้องกันการกัดกร่อนในตัวเองอยู่แล้ว เช่น เงิน ทอง โครเมียม หรือตะกั่ว ซึ่งโดยทั่วไปมักจะใช้ในการตกแต่งและป้องกันการสึกกร่อน การเคลือบด้วยโลหะเช่นนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของโลหะที่ต้องการเคลือบเสียก่อน ไม่เช่นนั้นแล้วคุณสมบัติของ Anode และ Cathode ของวัตถุตั้งต้นและสารเคลือบจะก่อให้เกิดการเหนี่ยวนำการกัดกร่อนเสียเอง

การเคลือบโดยโพลีเมอร์ (Polymer Coating) การเคลือบโพลีเมอร์นั้นนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางสำหรับเชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะใช้เป็นแผ่นหรือเป็นผง การเคลือบวิธีนี้สามารถป้องกันได้ทั้งความเสียหายเชิงกลและการกัดกร่อน อย่างไรก็ตาม หากการเคลือบนั้นเผยให้เห็นส่วนของโลหะภายในก็สามารถทำให้เกิดการกัดกร่อนอย่างรวดเร็วได้เช่นกัน

การทาสี (Painting) เป็นการแก้ปัญหาที่ง่ายและมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงนักสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย แต่การเคลือบสีนั้นจะไม่ป้องกันน้ำหรือออกซิเจน แต่สามารถปกป้อง Electrolyte เข้มข้นได้

ภาพการติดตั้งรางวางสายไฟฟ้าวัสดุไฟเบอร์กลาส (FRP)

ภายในโรงงานที่มีปัญหาการกัดกร่อนจากไอน้ำ

ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งได้มีการนำวัสดุ FRP (Fiberglass Reinforced Plastic) ที่เป็น Composite material มาใช้แทนวัสดุที่เป็นโลหะ ในบริเวณงานที่มีไอความชื้นสูง การติดตั้ง รางวางสายไฟฟ้า  FRP แทน รางเหล็ก ซึ่งมีคุณสมบัติเด่น อาทิ ไม่กัดกร่อน ไม่เป็นสนิม ไม่ติดไฟ มีความแข็งแรง น้ำหนักเบา 

รางวางสายไฟฟ้า FRP เหมาะที่จะนำไปใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม หลายประเภท เช่น โรงงานอุตสาหกรรมเคมี  โรงกลั่นน้ำมัน  โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร  โรงผลิตไฟฟ้า (Power plant)  โดยเฉพาะโรงงานที่ตั้งอยู่ใกล้ชายทะเล  ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เห็นประโยชน์ของ  FRP มากขึ้น เพราะสามารถช่วยลดต้นทุนการดูแลรักษาและหมดปัญหาการซ่อมบำรุง อีกทั้งช่วยให้ประหยัดงบประมาณการซ่อมบำรุงบ่อยๆ ของโรงงานอุตสาหกรรมได้ ทำให้ผลประกอบการมีกำไรเพิ่มขึ้น

ที่มา : mmthailand

::: รางวางสายไฟรอบ Cooling Tower พังอีกแล้ว

รางวางสายไฟฟ้าบริเวณ Cooling tower ผุพังบ่อย เพราะอะไร?

ในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ รวมไปถึง โรงงานกลุ่มปิโตรเคมี และโรงไฟฟ้า Cooling Tower เป็นระบบที่มีความสำคัญระบบหนึ่ง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้น้ำร้อนที่ผ่านการถ่ายเทความร้อนที่มาจากกระบวนการผลิต (Process) ที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) เพื่อทำให้น้ำนั้นเย็นลง โดยใช้หลักการให้น้ำร้อนนั้นถ่ายเทความร้อนและมวล (Heat and Mass Transfer) กับอากาศ

Cooling tower

การที่ Cooling Tower (หอระบายความร้อน) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้น้ำสามารถถ่ายเทความร้อนไปสู่อากาศได้นั้นสามารถอธิบายได้คือ Cooling tower เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการฉีดน้ำที่อุณหภูมิสูงให้กระจายตัวออกเป็นละอองเล็กๆ ตกผ่านแผงกระจายละอองน้ำ (Baffles or Fill Material) ละอองน้ำเหล่านี้จะเกาะตัวกับแผงกระจายละอองน้ำ ทำให้เกิดเป็นพื้นที่เปียก ซึ่งจะสัมผัสกับอากาศที่ถูกดูดผ่านแผงกระจายละอองน้ำ ก่อให้เกิดขบวนการถ่ายเทความร้อนสัมผัสระหว่างน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกับอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำ ขณะเดียวกันนั้นละอองน้ำบางส่วนก็จะระเหยตัวกลายเป็นไอน้ำไปในอากาศ เพราะอากาศในขณะนั้นยังมีสภาพไม่อิ่มตัว น้ำจึงสามารถระเหยกลายเป็นไอได้ดีมาก ซึ่งขบวนการระเหยกลายเป็นไอของละอองน้ำนี้จำเป็นต้องใช้ความร้อน ดังนั้นละอองน้ำที่ระเหยตัวจึงดึงความร้อนจากปริมาณน้ำที่เหลืออยู่

จากกระบวนการดังกล่าว ทำให้มักจะพบปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบหอระบายความร้อน ปัญหาหลักที่พบได้บ่อย ก็คือ การกัดกร่อน จากความชื้นและละอองน้ำที่มีความร้อน ทำให้อุปกรณ์บริเวณนั้นเกิดการผุกร่อน และเป็นสนิมได้ง่าย ทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์สั้นลง รวมไปถึงรางวางสายไฟ บริเวณ Cooling tower ก็จะพบปัญหาผุกร่อน เป็นสนิม ต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนบ่อยเช่นกัน โดยวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหา รางวางสายไฟผุกร่อนที่เป็นสนิมนั้น มีหลายวิธีจะขออธิบายดังนี้

  • การเคลือบผิวรางด้วยวัสดุทนการกัดกร่อน  เช่น ใช้รางชุบ Hot Dip Galvanized หรือรางพ่นสีฝุ่น Epoxy ซึ่งสามารถที่จะทนการผุกร่อนของละอองน้ำ ความชื้นได้ แต่ต้องยอมรับว่า เมื่อใช้งานไปสักระยะ สีที่ชุบอาจจะเกิดการหลุดลอก ทำให้เนื้อของวัสดุสัมผัสกับความชื้น จนทำให้รางเกิดการผุกร่อน เป็นสนิมอีกได้ เกิดการซ่อมแซม หรือ เปลี่ยนรางวางสายไฟฟ้าบ่อย ในระยะเวลาอันสั้น  

  • เลือกใช้โลหะที่ทนทานต่อการกัดกร่อน เช่น ใช้รางวางสายไฟสแตนเลสสตีล (Stainless steel) ซึ่งมีคุณสมบัติทนทานต่อการกัดกร่อน และไม่เป็นสนิม แต่ในกรณีที่วัสดุต้องสัมผัสกับความชื้น ละอองน้ำตลอดเวลา ก็มีโอกาสทำให้รางวางสายไฟนั้น เกิดการผุกร่อน และเป็นสนิมได้อีก ภายในระยะเวลา 4 หรือ 5 ปี

  • ใช้วัสดุทดแทนที่ทนทานต่อการกัดกร่อน เช่น วัสดุคอมโพสิท หรือรางวางสายไฟเบอร์กลาส (FRP)  ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือก วัสดุไฟเบอร์กลาสมีความทนทานต่อความชื้น ละอองน้ำ ความร้อน ไม่เป็นสนิม และมีความแข็งแรง เทียบเท่าเหล็ก สามารถรับน้ำหนักของสายไฟฟ้าได้ดี

รางวางสายไฟจากไฟเบอร์กลาส (FRP) ที่มีคุณสมบัติทนทานต่อ การผุกร่อนจากความชื้น ละอองน้ำ สารเคมี ไม่เป็นสนิม และยังมีความแข็งแรงเทียบเท่าวัสดุเหล็ก

จากที่ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของรางวางสายไฟเบอร์กลาส (FRP) ซึ่ง บริษัท จีอาร์อี คอมโพสิท จำกัด เป็นผู้ผลิตและจำหน่าย รางวางสายไฟจากไฟเบอร์กลาส (FRP) ที่มีคุณสมบัติทนทานต่อการผุกร่อนจากความชื้น ละอองน้ำ สารเคมี ไม่เป็นสนิม และยังมีความแข็งแรงเทียบเท่าวัสดุเหล็ก เป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับนำไปติดตั้งบริเวณ Cooling tower ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ รวมไปถึง โรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และโรงผลิตไฟฟ้า จัดเป็นวิธีการยืดอายุของวัสดุ ที่สามารถ ลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาสำหรับงานซ่อมบำรุงในระยะยาวได้ดีอีกด้วย

ไฟเบอร์กลาสมีดีจริงหรือไม่

พลาสติกเสริมแรงด้วยใยแก้ว (FRP) มีดีจริงหรือ

ไฟเบอร์กลาสมีดีจริงหรือไม่

ในปัจจุบัน ต้องยอมรับกันเลยว่า วัสดุคอมโพสิท หรือ พลาสติกเสริมแรงด้วยใยแก้ว (FRP หรือไฟเบอร์กลาส) เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างมากในวงการก่อสร้าง และการขนส่ง แต่ก็ยังมีหลายคน อาจจะสงสัยว่า “พลาสติกเสริมแรงมันดีจริงหรือ? ใช้แทนโลหะได้จริงหรือ?”  เรามาดูคุณสมบัติของ พลาสติกเสริมแรง (FRP หรือไฟเบอร์กลาส) กันทีละหัวข้อ 

คุณสมบัติของพลาสติกเสริมแรง (FRP หรือไฟเบอร์กลาส)

    • ทนกัดกร่อน
    • น้ำหนักเบา
    • ประหยัด
    • ความยืดหยุ่นในการออกแบบ
    • ความแข็งแรง

การต้านทานการกัดกร่อนจากสารเคมี (Chemical resistance)

ประเด็นนี้ต้องบอกเลยว่าเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของพลาสติกแต่ละชนิดที่เรานำมาใช้  บางชนิดทนกรด  บางชนิดทนด่าง  บางชนิดทนไอเกลือ ไอทะเล อันนี้ต้องเลือกให้เหมาะกับงาน ถ้าเลือกชนิดของพลาสติกได้ถูกต้องรับรองได้เลยงานนี้ใช้ยาวๆไปเลย

FRP Cable ladder Corrosion

การเลือกใช้รางโลหะในพื้นที่ที่มีการกัดกร่อนจากเคมี อาจจะไม่เหมาะและทำให้เสียงบประมาณในการเปลี่ยนบ่อย

FRP Chemical Resistance
FRP cable tray cable ladder

การเลือกใช้รางพลาสติกเสริมแรง (GRP หรือ FRP) ในพื้นที่ที่มีการกัดกร่อนจากเคมี คุณสมบัติของ FRP หรือไฟเบอร์กลาส จะช่วยให้อายุการใช้งานยาวนาน ไม่ถูกกัดกร่อนจากเคมี


น้ำหนักเบา (Light weight)

เพราะ องค์ประกอบของ โครงสร้างพลาสติก ทำให้พลาสติกมีความหนาแน่นน้อยกว่า กลุ่มโลหะเกือบ 3 เท่า และยิ่งถ้าเป็นพลาสติกที่เสริมแรง ด้วยเส้นใยแก้ว (FRP หรือไฟเบอร์กลาส) ยิ่งเบาขึ้นไปอีก ไม่เชื่อลองดูภาพนี้ ถ้าเป็นวัสดุโลหะที่คุณคุ้นชิน ยกแบบนี้ไหวไหม 

FRP_FootValve

ภาพฟุตวาล์วขนาด 14 นิ้วที่ทำด้วยวัสดุ FRP จึงมีน้ำหนักเบา

ทำความรู้จักสินค้า : FRP Foot Valve และวาล์วชนิดอื่นๆ 


ประหยัด (Low cost)

หัวข้อนี้ หากดูแค่ราคาสินค้าเริ่มต้นหลายคนอาจจะบ่นว่าแพง แต่จริงๆแล้ว ถ้าเราพิจารณาทั้งกระบวนการการใช้งาน คุณจะพบว่าพลาสติกเสริมแรง ช่วยให้คุณ ประหยัดได้จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลดเวลา ในการติดตั้งไม่ว่าจะเป็นงานท่อน้ำ ท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ค่าขนส่งที่ถูกลงเพราะน้ำหนักเบา อายุการใช้งานที่นานจนลืม เช่น งานรางไฟฟ้าในพื้นที่ ที่มีการกัดกร่อนสูงๆ  ริมทะเล  หรือรอบๆ อาคารคูลลิ่ง (Cooling Tower)


ความยืดหยุ่นในการออกแบบ (Flexibility)

พลาสติกเสริมแรง (FRP หรือไฟเบอร์กลาส) จัดเป็นวัสดุวิศวกรรม ประเภทหนึ่ง หากแต่เราต้องเลือก และนำไปใช้งาน ให้ตรงกับ ความต้องการ  วัสดุประเภทนี้ บางกระบวนการไม่ต้องการความซับซ้อน ในการขึ้นรูป ไม่ต้องทำแม่พิมพ์ให้ยุ่งยาก เราก็สามารถทำชิ้นงานได้หลากหลายแบบ ตามที่เราต้องการ เช่น GRE cover, GRE tank, GRE motor support, GRE air duct เป็นต้น

FRP cover_FRP tank
FRPmoterSupport_FRPairDuct

GRE COMPOSITES สามารถผลิตสินค้า FRP ได้หลากหลาย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 094-661-4594


ความแข็งแรง (Strength)

FRP TensileStrength

ประเด็นนี้ไม่กล่าวถึงไม่ได้เลย เพราะ หลายๆคน คงสงสัยว่าพลาสติกเสริมแรง (FRP หรือไฟเบอร์กลาส) จะรับแรง ใช้งานได้ดีเหมือนเหล็ก หรือโลหะอื่นๆ ได้จริงหรือ?  จากการศึกษา และผลงานตีพิมพ์อย่างมาก เรื่องความแข็งแรงของพลาสติกเสริมแรง สามารถยืนยันได้เลยว่า วัสดุไฟเบอร์กลาส (FRP) สามารถใช้ทดแทนงานโลหะได้เลย  ในต่างประเทศ ได้เริ่มเอาพลาสติกเสริมแรง มาใช้ในหลายๆ อุตสาหกรรม ไม่ว่าด้านก่อสร้างอาคาร ตึก ก่อสร้างสะพาน งานขนส่ง เช่น ชิ้นส่วนรถไฟฟ้าความเร็วสูง  หรือแม้กระทั่ง ชิ้นส่วนเครื่องบิน จรวด แต่ทั้งหมดก็ต้องขึ้นกับการออกแบบ และการเลือกชนิดของพลาสติก และเส้นใยแก้ว


สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณผู้ที่คิดค้น วัสดุไฟเบอร์กลาส (FRP)  ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย  แต่ถ้าคุณคิดว่า สินค้าที่คุณใช้งานอยู่มีปัญหา อายุงานการใช้งานสั้น ต้องเปลี่ยนสินค้าบ่อย เพราะโดนการกัดกร่อนจากสารเคมี หรือเป็นสนิม  เราอยากให้คุณลองเปลี่ยนมาใช้งานวัสดุ ไฟเบอร์กลาส (FRP)  ซึ่งในปัจจุบัน บริษัท จีอาร์อี คอมโพสิท จำกัด มีสินค้าที่ทำจากวัสดุ FRP  มากมาย เช่น GRE Cable ladder , GRE Tank , GRE Valve  หรือ จะเป็นงานจ้างทำประเภทต่างๆ เพื่อให้ทุกท่านพิจารณา สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 094-661-4594

FRP valve - Foot valve

ปั๊มดูดน้ำไม่ขึ้น พาปั่นป่วนไปทั้งโรงงาน

FRP valve - Foot valve

ในโรงงานของท่าน เคยเจอเหตุการณ์เหล่านี้ไหม ปั๊มดูดน้ำไม่ขึ้น ขาดน้ำใช้เพราะไม่มีน้ำในถังเก็บน้ำ ต้องหยุดการผลิตเพราะขาดน้ำเข้าระบบผลิต หรือ บ่อน้ำเสียเอ่อล้น เพราะปั๊มน้ำเสียออกจากบ่อไม่ได้ เหตุการณ์เหล่านี้ดูเผิญๆเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่แท้จริงแล้วนับเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทีไร ก็ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเดือดร้อนไม่น้อย เพราะส่งผลกระทบต่อเนื่อง เป็นลูกโซ่ไปตั้งแต่สายการผลิตที่หยุดชะงัก ยอดผลิตที่ตกเป้าไปจนถึงลูกค้าที่ไม่ได้รับสินค้าตามสัญญา

เมื่อช่างไปตรวจหาสาเหตุ ก็มักพบว่าต้นเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ข้างต้น มาจากการที่ปั๊มดูดน้ำไม่ขึ้นจึงทำให้ไม่มีน้ำส่งเข้าถังเก็บน้ำ หรือไม่มีน้ำส่งเข้าสายการผลิต หรือดูดน้ำเสียออกไม่ได้

บ่อยครั้งสิ่งที่เราจะเห็นคือ ปั๊มเดินตัวเปล่าจนมอเตอร์ร้อน ทำให้เราคิดว่าเป็นเพราะมี air lock ในเส้นท่อปั๊มจึงดูดน้ำไม่ขึ้น และเราก็จึงมัวแต่ไปหาทางแก้ไข air lock ในเส้นท่อจนลืมไปว่ามีอีกสาเหตุที่เรามองไม่เห็น สาเหตุที่ซ่อนอยู่ใต้น้ำ นั่นก็คือ ฟุตวาล์ว (Foot Valve)

บำรุงรักษารางแลดเดอร์ FRP cable tray -cable ladder

ละเลยการบำรุงรักษา ปล่อยให้สนิมกัดรางวางสายไฟจนบาง ราวคมมีด

คงไม่ดีแน่หากวันใด รางวางสายไฟ แลดเดอร์ หรือ เคเบิ้ลเทรย์ ในโรงงานอุตสาหกรรม เกิดพังล้มทั้งแผง จนต้อง Breakdown สาเหตุโดยมากมักมาจากขาดการตรวจสอบสภาพการใช้งาน และขาดการบำรุงรักษา รางวางสายไฟอย่างถูกวิธี ทุกๆโรงงานอุตสาหกรรมจึงควรตรวจสอบสภาพการใช้งาน และบำรุงรักษารางวางสายไฟ แลดเดอร์ หรือ เคเบิ้ลเทรย์ สักนิดก่อนจะสายเกินไป

รางเป็นสนิม รางวางสายไฟเป็นสนิม

3 ผ่าน | บำรุงรักษารางแลดเดอร์สักนิดก่อนจะสายเกินไป…!

ผู้ปฎิบัติงานสามารถป้องกันได้โดย จัดแผนงานบำรุงรักษาตามปกติ (Routine maintenance) และหมั่นเข้าตรวจสอบอุปกรณ์รางวางสายไฟ แลดเดอร์ หรือ เคเบิ้ลเทรย์ ตามกำหนด เช่น ตรวจสอบประจำสัปดาห์ ประจำเดือน หรือประจำปี  ซึ่งเป็นงานที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ด้วย 3 ผ่าน ง่ายๆ ในการตรวจสอบรางเดินสายไฟ  ดังนี้

บำรุง รักษา รางวางสายไฟ แลดเดอร์ เคเบิ้ลเทรย์

หรือเริ่มต้นตั้งแต่ ขั้นตอนออกแบบทางวิศวกรรม การออกแบบเลือกใช้วัสดุในการผลิตรางวางสายให้เหมาะกับจุดใช้งานตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ เช่น  การเลือกใช้รางวางสายโลหะ, รางกล่องพลาสติก ซึ่งเป็นที่นิยมติดตั้งใช้งานในบ้าน อาคารสำนักงาน หรืออาคารโรงงานที่มีสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป  แต่รางวัสดุดังกล่าวก็มีข้อจำกัดเรื่องความเปราะแตกหักง่าย หรือ ไม่สามารถทนการกัดกร่อนเคมีได้จึงผุกร่อนง่าย   หากนำมาใช้งานในบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมที่ใกล้แหล่งความร้อน และสัมผัสสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้จำเป็นต้องหยุดระบบผลิตเพื่อซ่อมบำรุงบ่อย สูญเสียรายได้ และมีสภาพความเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน อาทิ

  • โรงงานฟอกหนัง ฟอกย้อม ที่มีไอระเหยของน้ำยาฟอกที่มีฤทธิ์กัดกร่อน
  • ในจุดติดตั้งบริเวณผลิตน้ำประปา , ผลิตน้ำปราศจากแร่ธาตุ (Demonetization plant)  ที่มีไอระเหยของคลอรีนที่มีฤทธิ์กัดกร่อน
  • รางวางสายไฟบริเวณบนบ่อบำบัดน้ำเสีย , ท่าเรือ อาคารใกล้ไอทะเล
  • โรงงานผลิตเหล็ก, ชุบโลหะ โรงแบตเตอรี่ ที่เกิดไอกรดจากกระบวนการผลิตและทำความสะอาดชิ้นงาน

ดังนั้นหากเป็นจุดใช้งานดังกล่าว  การเลือกใช้วัสดุในการผลิตรางวางสายที่สามารถทนการกัดกร่อน เช่น วัสดุอโลหะ , รางวางสายไฟชนิดไฟเบอร์กลาส ซึ่งสามารถรับน้ำหนักโหลดสายไฟได้ถึง 150 กิโลกรัมต่อเมตร  ทนการกัดกร่อนของสารเคมี ไม่ผุกร่อน 100%  ที่สำคัญติดตั้งใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซ้ำซ้อน

การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยลดต้นทุนในการบำรุงรักษาได้ในระยะยาว ลดการ breakdown ของสายงานผลิต และโบนัสปลายปีปังๆ สำหรับพนักงาน และสำคัญที่สุดความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน ที่ไม่ต้องเสี่ยงกับไฟดูด หรือบาดทะยักจากอุปกรณ์ระบบเดินสายไฟที่ผุกร่อน….

importFRP

เราควรจะเลือกซื้อสินค้า รางเคเบิ้ลวางสายไฟชนิดไฟเบอร์กลาส (FRP) จากผู้ผลิตภายในประเทศ หรือนำเข้าจากต่างประเทศดีกว่ากัน

ในปัจจุบันการเลือกซื้อสินค้ารางวางสายไฟ ชนิด FRP Cable tray, ladder type และ perforated tray เพื่อใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ ผู้ใช้สินค้ามักจะเลือกซื้อจากโรงงานผู้ผลิตทั้งผลิตภายในประเทศ และนำเข้าจากโรงงานผู้ผลิตต่างประเทศ ทั้ง 2 ช่องทางนี้มีข้อดีและข้อควรระวัง……ต่างกันออกไป

นำเข้าจากผู้ผลิตต่างประเทศ ควรเลือกบริษัทที่มีเทคโนโลยีในการผลิตแบบ Pultrusion process ที่มีประสิทธิภาพ

การเลือกซื้อสินค้าที่ต้องนำเข้าจากผู้ผลิตต่างประเทศ

  1. ควรเลือกซื้อจากบริษัทที่มีเทคโนโลยีในการผลิตแบบ Pultrusion process ที่มีประสิทธิภาพ มีผลการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น ค่า Tensile strength, Flexural strength, Izod Impact ที่ผ่านมาตรฐานทดสอบตาม ASTM และผลิตตาม NEMA FG-1  เพื่อทำให้ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่า สินค้าที่นำเข้านั้นคุ้มค่ากับการเสียภาษี
  2. ควรเลือกซื้อจากบริษัทที่มีการบริการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถให้คำปรึกษาได้อย่างเป็นประโยชน์ แต่อาจเกิดความล่าช้า หรือไม่สามารถมาให้คำปรึกษาที่หน้างานติดตั้งได้ทันที
  3. ควรเลือกซื้อจากบริษัทที่สามารถมีการจัดการส่งสินค้าได้หลายช่องทาง ทั้งทางเรือขนส่ง ทางอากาศ ทางรถบรรทุก แต่ในบางครั้งอาจพบปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดส่งสินค้าได้ เช่น สินค้าเกิดความเสียหายหรือเกิดปัญหาความล่าช้าระหว่างการขนส่ง

ผู้ผลิตภายในประเทศ ลดต้นทุนการขนส่ง ให้คำปรึกษาใกล้ชิด และรวดเร็ว

ากเรามาพิจารณาเลือกซื้อสินค้าจากผู้ผลิตภายในประเทศ ก็จะพบว่า

  1. สามารถผลิตรางวางสายไฟฟ้า FRP cable ladder ตามมาตรฐาน NEMA FG-1 ด้วยวิธี Pultrusion process เช่นเดียวกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ มีประสิทธิภาพและมีผลการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพรองรับ
  2. มีทีมงานให้คำปรึกษา ามารถสั่งผลิตสินค้าได้ตรงการใช้งานตามสภาพหน้างานจริง (Customized service) ด้วยการสำรวจสภาพหน้างาน และสามารถให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่มกระบวนการขาย จนถึงหลังการขายเมื่อเกิดปัญหา ได้อย่างใกล้ชิดและรวดเร็ว
  3. ามารถลดต้นทุนค่าการจัดการเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า อีกทั้งระยะเวลาจัดส่งสินค้ารวดเร็วกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ ามารถจัดส่งสินค้าได้ทันการใช้งาน และยังลดความเสียหายที่อาจเกิดระหว่างกระบวนการจัดส่ง
  4. ราคาสินค้าที่ต่ำกว่า เนื่องจากเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ ทำให้ประหยัดในเรื่องค่าขนส่งจากต่างประเทศ และค่าภาษีนำเข้า
  5. อายุการใช้งานยาวนานกว่า (Life time) ด้วยวิธีทาสี PU Coating เคลือบผิวด้านนอกราง สามารถป้องกัน UV. resistance ได้ดีกว่า

บริษัท จีอาร์อี คอมโพสิท จำกัด เป็นผู้ผลิตรางวางสายไฟฟ้า FRP Cable ladder แบบ  Pultrusion process รายแรกในประเทศ บริษัทฯ สามารถผลิตรางวางสายไฟ ได้ทั้ง Ladder type and perforated tray type เราผลิตสินค้าที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน  NEMA FG-1 ด้วยคุณสมบัติด้านวิศวกรรมครบถ้วนทั้งในด้านการทนการกัดกร่อนจากสารเคมี ไอทะเล ไม่เป็นสนิม ไม่ลามไฟ มีความแข็งแรงทนทาน เฉกเช่น สินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ 

GRE cable ladder & tray ได้รับการยอมรับให้ใช้ในโครงการของโรงไฟฟ้าและโรงงานในแถบนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในประเทศ  มานานกว่า 15 ปี

ต่อกราวด์รางวางสายไฟ รางแลดเดอร์ ไฟรั่ว

อันตรายจากไฟรั่ว! ผ่านรางวางสายไฟทั้งๆที่ต่อกราวด์แล้ว

อันตรายจากกระแสไฟรั่ว ผ่านรางวางสายไฟ ทั้งๆที่ต่อกราวด์ จะมีความรุนแรงของไฟฟ้าดูด หรือไฟช็อต มากน้อย ขึ้นอยู่กับจำนวนโวลท์ (voltage)  และแอมแปร์ (amperage) ของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าสู่ร่างกาย การสูญเสียชีวิตหรืออวัยวะของผู้ปฎิบัติงานส่วนใหญ่จะเกิดจากการสัมผัสถูกไฟฟ้าแรงสูงชนิด high voltage ซึ่งบ่อยครั้งเกิดจากการละเลยเรื่องของสนิมที่เกิดบนรางวางสายไฟ จนทำให้รางผุพัง หรือเกิดสนิมบริเวณสาย กราวด์จนทำให้สายกราวด์ขาด ดังนั้นเราควรหมั่นดูแลรักษาอุปกรณ์ที่อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟรั่วหรือไฟช็อตด้วยความละเอียดรอบคอบ เพื่อป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น

ขอยกตัวอย่างที่เราอาจมองข้ามเช่น รางวางสายไฟ (Cable Tray) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการเดินสายไฟฟ้าของโรงงานอุตสาหกรรมและอาคาร มีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเดินระบบสายไฟฟ้าที่ซึ่งคาดว่าจะมีการเปลี่ยนสายไฟฟ้าใหม่หรือเพิ่มสายใหม่ในอนาคต สามารถติดตั้งได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และสามารถวางสายไฟฟ้าได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งสามารถระบายอากาศได้ดี

รางวางสายไฟแบบต่อกราวด์ และไม่ต่อกราวด์

รางวางสายไฟ (Cable Tray) มีทั้งแบบที่ทำจากวัสดุโลหะ (hot-dip galvanized, อลูมิเนียม, สแตนเลส) และที่ทำจากวัสดุอโลหะ (Plastic, FRP, ไม้) หากโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารใด เลือกใช้รางวางสายไฟที่ทำจากวัสดุโลหะ (hot-dip galvanized, อลูมิเนียม, สแตนเลส) ตามมาตรฐานของ วสท.กำหนดว่าจะต้องมีการต่อกราวด์ที่รางวางสายไฟ แต่ถ้าโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารใดเลือกใช้รางวางสายไฟที่ทำจากวัสดุอโลหะ (Plastic, FRP, ไม้)  วัสดุนั้นจะต้องเป็นวัสดุที่ต้านเปลวเพลิง ส่วนข้อดีของรางอโลหะคือมีความเป็นฉนวนในตัวและทนต่อสภาวะกัดกร่อนได้ดี ก็ไม่จำเป็นต้องมีการต่อกราวด์

การต่อกราวด์ที่รางวางสายไฟโลหะนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะคือความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน การต่อกราวด์ที่รางวางสายไฟจะต้องต่อสายกราวด์ต่อเนื่องไปตลอดแนวรางวางสายเพื่อให้ส่วนของโลหะต่อถึงกันตลอด มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์เพื่อป้องกันไฟดูด ผู้ปฏิบัติงานควรหมั่นสังเกตและตรวจสอบสายกราวด์ที่ต่อไว้อย่างสม่ำเสมอว่าเป็นสนิมหรือขาดออกจากกันหรือไม่    โดยเฉพาะทุกจุดที่มีการต่อสายกราวด์ไว้  ในกรณีที่สายกราวด์มีปัญหาดังกล่าวเมื่อมีกระแสไฟรั่วลงโครงโลหะจะเกิดความเสี่ยงต่อผู้ปฎิบัติงาน อาจถูกไฟดูดและมีอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นควรหมั่นดูแลระบบให้ดีอยู่เสมอและให้ความสำคัญบริเวณที่มีการติดตั้งรางวางสายไฟบริเวณภายนอกอาคารหรือบริเวณที่มีการกัดกร่อนสูงเช่น cooling tower, chemical plant ย่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวได้

การป้องกันไฟรั่ว โดยไม่ต้องต่อกราวด์

ที่ใดที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้า ที่นั้นก็จะต้องมีการเดินสายไฟไปหา วิธีเดินสายไฟที่นิยมใช้ในโรงงานคือเดินสายไฟไปบนรางวางสายไฟ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าจำนวนสายไฟที่ต้องเดินนั้นมีจำนวนมากจึงน้ำหนักมาก, ต้องติดตั้งในพื้นที่ภายนอกอาคาร และต้องเข้าถึงได้ง่ายในการบำรุงรักษา

รางวางสายไฟ (Cable Tray) มีทั้งแบบที่ทำจากวัสดุโลหะ (Hot-dip galvanized, อลูมิเนียม, สแตนเลส) และที่ทำจากวัสดุอโลหะ (Plastic, FRP, ไม้) หากเลือกใช้รางวางสายไฟที่ทำจากวัสดุโลหะ ตามมาตรฐานของ วสท.กำหนดว่าจะต้องมีการต่อกราวน์ที่รางวางสายไฟ และหากเลือกใช้รางวางสายไฟที่ทำจากวัสดุอโลหะ วัสดุนั้นจะต้องเป็นวัสดุที่ต้านเปลวเพลิง

การต่อกราวน์ที่รางวางสายไฟโลหะนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะคือความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน การต่อกราวน์ที่รางวางสายไฟจะต้องกราวน์ต่อเนื่องไปตลอดต่อแนวรางวางสายเพื่อให้ส่วนโลหะต่อถึงกันตลอด มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์ ป้องกันไฟดูด หากสายกราว์นเป็นสนิมและขาดออกจากกัน บริเวณที่ต่อกราว์นไว้ (ซึ่งตลอดแนวรางวางสายไฟนั้นมีหลายสิบจุด และอาจมีได้เป็นร้อยจุด) เมื่อมีกระแสไฟรั่วลงโครงสร้างโลหะ จะเกิดความเสี่ยงต่อผู้ปฎิบัติงานและถูกไฟดูดได้ นับเป็นความเสี่ยงต่อชีวิตของผู้ดูแลรักษาระบบไฟฟ้า

การต่อกราวด์ที่รางวางสายไฟที่ถูกต้องนั้นสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่มาตรฐานวสท.ข้อที่ (4.15.4), (4.22) และ (4.23) หรือ หากต้องการขจัดความเสี่ยงเรื่องไฟรั่วลงที่รางวางสายไฟโลหะ การเลือกใช้รางสายไฟที่มีคุณสมบัติไม่เป็นสนิม, ไม่นำไฟฟ้าและไม่ลามไฟ เช่น รางวางสายไฟเบอร์กลาส นับเป็นหนทางหนึ่งในการเพิ่มความปลอดภัยทางไฟฟ้าให้กับระบบและผู้ใช้งาน

ซ่อมราง Cable ladder รางแลดเดอร์

รู้หรือไม่? ซ่อมบำรุงรางวางสายไฟ บ่อยๆ ต้นเหตุงบบานปลาย

สิ่งที่ควรคำนึงเมื่อ ซ่อมบำรุงรางวางสายไฟ 

เมื่อพูดถึงวัสดุที่ใช้ผลิตสินค้าทางวิศวกรรมในปัจจุบัน ยังไงก็คงหนีไม่พ้น “เหล็ก” และก็คงหนีไม่พ้นปัญหาการกัดกร่อนจากสนิมเหล็กเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องมีการ ซ่อมบำรุงรางวางสายไฟ อยู่บ่อยๆ งบประมาณสำหรับการซ่อมบำรุงก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ควรคำนึงถึงเพื่อพิจารณาในการเลือกใช้วัสดุ คงไม่ดีแน่หากเราต้องเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา กับการซ่อมบำรุงอยู่บ่อยๆ ทางเลือกที่ไม่ทำให้เกิดสนิม คือ นำเหล็กมาชุบกัลวาไนซ์  หรือเลือกใช้วัสดุสแตนเลส อลูมิเนียม และ ไม้ ซึ่งวัสดุเหล่านี้มีอายุการใช้งานนานก็จริง แต่สุดท้ายก็ยังมีโอกาสผุพังตามสภาพและคุณภาพของวัสดุนั้นๆ  รวมถึงการลุกลามจากการกัดกร่อนรอบๆบริเวณที่ติดตั้งหรือใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ   

 

แต่เมื่อเทียบกับวัสดุอื่น อาทิ วัสดุคอมโพสิต หรือที่รู้จักกันดีคือ FRP ซึ่งมีความแข็งแรง ทนทาน อายุการใช้งานนาน เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ที่มีการกัดกร่อนทุกระดับ เราจึงสามารถประหยัดเงินในส่วนงบประมาณสำหรับการซ่อมบำรุง ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ นี้ได้

เปรียบเทียบราคาต่ออายุการใช้งาน

หากเรานำราคาสินค้าโลหะมาเปรียบเทียบกับราคาสินค้าคอมโพสิต (FRP) ราคาเมตรต่อเมตรของ FRP จะสูงกว่า แต่หากผู้ใช้งานนำราคามาพิจารณาเทียบกับอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ก็จะรู้ว่าคุ้มค่ากว่าทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากสินค้าอื่นที่มีราคาถูกกว่านั้นจะมีอัตราการซ่อมบำรุงรางวางสายไฟบ่อยๆ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงแต่ละครั้ง นำมารวมกับค่าสินค้าจะพบว่าแพงกว่าราคาสินค้าคอมโพสิต (FRP) หากไม่อยากเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา ไปกับการซ่อมบำรุงรางวางสายไฟฟ้าบ่อยๆ สินค้าคอมโพสิตจะช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานต่อเนื่องได้โดยไม่เสียเวลา และงบประมาณไม่บานปลาย อีกต่อไป

 

Compare Cable ladder/tray เปรียบเทียบ ราคา ต่อ อายุการใช้งาน

กราฟแสดงการเปรียบเทียบราคาต่ออายุการใช้งาน Cable ladder/tray โดยแสดงเป็นค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่สมควรเคลือบเรซิ่น และทาสีใหม่ แต่ถ้าพูดถึงความคงทนอายุการใช้งานรางวางสายไฟเบอร์กลาสยังคงสามารถใช้ต่อไปได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ 10-20 ปี

วัสดุที่ควรเลือกใช้เมื่ออยู่ในพื้นที่กัดกร่อนจากความชื้น และสารเคมี

หากพื้นที่การใช้งานรางวางสายไฟฟ้า (Cable ladder/tray) ของท่านคือ รอบๆ บริเวณบ่อบำบัดน้ำเสีย ใกล้พื้นที่จ่ายสารเคมี ใกล้เคียงบริเวณชายฝั่งทะเล เป็นต้น รางวางสายไฟฟ้าไฟเบอร์กลาส (FRP cable ladder/tray, Wire way) จะตอบโจทย์ของปัญหาเหล่านี้ได้ดียิ่ง

GRE Cable ladder/tray  จัดเป็นวัสดุทางเลือกหนึ่งที่หลายๆโรงงานอุตสาหกรรมในปัจจุบันหันมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อแก้ไขปัญหางบประมาณบานปลายในการซ่อมบำรุงที่เกิดขึ้นบ่อยๆ

รางวางสายไฟ ผุพัง รางวางสายไฟผลิตจากไม้ ซ่อมบำรุงบ่อย
ภาพรางวางสายไฟที่ผลิตจากไม้ ภายในโรงปุ๋ย ที่มีทั้งความชื้น+สารเคมีหลายๆตัวของปุ๋ย ทำให้ไม้ก็ยังผุพังได้ ต้องทำการซ่อมบำรุงบ่อยๆ

GRE FRP cable ladder / tray ลดการซ่อมบำรุงบ่อย อายุการใช้งานยาวนาน
ภาพเมื่อเปลี่ยนมาใช้รางวางสายไฟฟ้าวัสดุไฟเบอร์กลาสของ GRE ลดงาน ลดงบประมาณในการซ่อมบำรุง ประหยัดในระยะยาว 10 ปีผ่านมา ก็ยังดีอยู่

เคเบิ้ลแลดเดอร์(Cable ladder) ของ GRE มี Fitting & Cover หลากหลาย ได้แก่ Horizontal Fittings, Vertical Inside Fittings, Vertical Outside Fittings, Horizontal Cross Fittings และ Reducer Fittings

Cable tray Fitting and Cover

accessories

รางแลดเดอร์ รางวางสายไฟเป็นสนิม

รางวางสายไฟเป็นสนิม อีกแล้ว ทำอย่างไรดี?

สนิม คือส่วนที่โลหะมีการเปลี่ยนสภาพไปจากเดิมเนื่องจากได้รับปฏิกิริยาเคมีที่มีอากาศ น้ำ หรือความร้อน ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คุณสมบัติของรางวางสายไฟโลหะเปลี่ยน และแตกต่างไปจากเดิม เช่น รางวางสายไฟเป็นสนิม สีเปลี่ยนไป ความแข็งแรงของโลหะลดลง ทำให้เกิดการผุกร่อน เป็นต้น

ปัญหาการเกิดสนิมบริเวณรางวางสายไฟ (Cable ladder)

ปัญหาการเกิดสนิมบริเวณรางวางสายไฟ (Cable ladder)

ปัญหาการเกิดสนิมบริเวณรางวางสายไฟ (Cable ladder) ในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นเรื่องที่ยากจะควบคุม เนื่องจากขั้นตอนในกระบวนการผลิตที่ต้องทำงานผ่านสารเคมี ความร้อน ความชื้น หรือความเย็น และมีการสัมผัสกับออกซิเจนในอากาศ สถานที่ตั้ง และสภาพแวดล้อมโดยรอบโรงงานก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้รางเป็นสนิม เช่น โรงงานเคมี โรงงานอาหาร โรงงานตามชายฝั่งทะเล หรือ โรงปิโตรเคมี เป็นต้น ดังนั้น การมีความรู้ความเข้าใจที่เหมาะสมกับการบำรุงรักษาและป้องกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ สามารถป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นทั้งทางด้านค่าใช้จ่าย การสูญเสียวัสดุ การสูญเสียเวลาทำงาน และนับเป็นการป้องกันการบำรุงรักษา (Maintenance Preventive) ซึ่งเป็นผลดีแก่โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างราบรื่นและต่อเนื่อง

 

ปัญหาการเกิดสนิมบริเวณรางวางสายไฟ (Cable ladder) ในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นเรื่องที่ยากจะควบคุม เนื่องจากขั้นตอนในกระบวนการผลิตที่ต้องทำงานผ่านสารเคมี ความร้อน ความชื้น หรือความเย็น และมีการสัมผัสกับออกซิเจนในอากาศ สถานที่ตั้ง และสภาพแวดล้อมโดยรอบโรงงานก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้รางเป็นสนิม เช่น โรงงานเคมี โรงงานอาหาร โรงงานตามชายฝั่งทะเล หรือ โรงปิโตรเคมี เป็นต้น ดังนั้น การมีความรู้ความเข้าใจที่เหมาะสมกับการบำรุงรักษาและป้องกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ สามารถป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นทั้งทางด้านค่าใช้จ่าย การสูญเสียวัสดุ การสูญเสียเวลาทำงาน และนับเป็นการป้องกันการบำรุงรักษา (Maintenance Preventive) ซึ่งเป็นผลดีแก่โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างราบรื่นและต่อเนื่อง

 

แนวทางการป้องกันรางวางสายไฟเป็นสนิม

แนวทางการดูแลป้องกันการกัดกร่อนและรางวางสายไฟเป็นสนิม  สามารถทำได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุรางวางสายไฟ ปัจจัยแวดล้อมและพื้นที่การดำเนินงานโดยในเบื้องต้นมีวิธีการ ดังนี้

แนวทางการป้องกัน
รางวางสายไฟเป็นสนิม

  • การเคลือบผิวเหล็ก (Coating) เพื่อป้องกันมิให้เนื้อเหล็กสัมผัสกับน้ำ และอากาศโดยตรง โดยทั่วไปมีหลายวิธี เช่น เคลือบผิวด้วยโลหะ การเคลือบผิวด้วยพลาสติก หรือการเคลือบผิวด้วยไฟเบอร์กลาส เป็นต้น การเคลือบวิธีนี้สามารถป้องกันได้ทั้งความเสียหายเชิงกลและการกัดกร่อน อย่างไรก็ตาม ผิวเคลือบด้วยวิธีนี้ หากเตรียมผิวชิ้นงานไม่ดี อาจทำให้ผิวเคลือบหลุดออกได้ง่าย ทำให้เนื้อเหล็กมีโอกาสสัมผัสกับบรรยากาศและมีโอกาสที่รางวางสายไฟจะเกิดสนิมขึ้นได้อีก

การเคลือบผิว รางวางสายไฟ coating

  • การใช้เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel) เป็นการเลือกใช้โลหะที่มีความทนทานต่อการเกิดสนิม แต่ในกรณีที่ชิ้นงานต้องสัมผัสน้ำทะเล กรด ด่าง หรือไอระเหยของสารเคมี ตลอดเวลาอาจจะทำให้รางเกิดสนิมขึ้นได้อีก

รางวางสายไฟ เหล็ก

  • การเลือกใช้วัสดุที่ไม่เกิดสนิม เช่น ไม้ พลาสติก เป็นอีกวัสดุทางเลือกที่สามารถใช้เป็นวัสดุทดแทนเหล็กได้ แต่ทั้งไม้และพลาสติกอาจไม่เหมาะกับงานบางประเภทเนื่องจากมีความเปราะ แข็งแรงตํ่า

รางวางสายไฟ พลาสติก

  • การเลือกใช้วัสดุโพลีเอสเตอร์เสริมแรงด้วยไฟเบอร์กลาส (FRP) ซึ่งเป็นวัสดุทางเลือกอีกประเภทที่ออกแบบมาให้มีคุณสมบัติในการต้านทานการกัดกร่อน ป้องกันรางเกิดสนิม ที่มีน้ำหนักเบา

FRP cable ladder FRP cable tray วัสดุโพลีเอสเตอร์เสริมแรงด้วยไฟเบอร์กลาส (FRP)

วัสดุทางเลือก รางไฟเบอร์กลาส เบา ไม่เป็นสนิม ติดตั้งง่าย

รางวางสายไฟที่ทำจากไฟเบอร์กลาส (FRP) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่น่าจะตอบโจทย์การใช้งานได้ดี โดยเฉพาะในจุดที่มีการกัดกร่อน หรือมีโอกาสเกิดสนิม เช่น บริเวณชายทะเล ในไลน์การผลิตที่มีไอสารเคมี หรือ บริเวณที่มีความชื้น เป็นต้น รางวางสายไฟเบอร์กลาสนอกจากจะทนต่อการกัดกร่อนแล้ว ยังมีความแข็งแรง น้ำหนักที่เบา และความเป็นฉนวนไฟฟ้า ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในงานซ่อมบำรุง ด้วยคุณสมบัติดังนี้ทำให้รางวางสายไฟจากไฟเบอร์กลาส เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งในอุตสาหกรรม

FRP Cable ladder
#รางวางสายไฟไฟเบอร์กลาส เบา ไม่เป็นสนิม ติดตั้งง่าย
#รางวางสายไฟ GRE ไม่ต้องรอเคลือบ ไม่ผุ ไม่เกิดสนิม ทนแดด ทนฝน ไม่ลามไฟ

แนวทางการดูแลป้องกันการกัดกร่อนและรางวางสายไฟเป็นสนิม  สามารถทำได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุรางวางสายไฟ ปัจจัยแวดล้อมและพื้นที่การดำเนินงานโดยในเบื้องต้นมีวิธีการ ดังนี้

  • การเคลือบผิวเหล็ก (Coating) เพื่อป้องกันมิให้เนื้อเหล็กสัมผัสกับน้ำ และอากาศโดยตรง โดยทั่วไปมีหลายวิธี เช่น เคลือบผิวด้วยโลหะ การเคลือบผิวด้วยพลาสติก หรือการเคลือบผิวด้วยไฟเบอร์กลาส เป็นต้น การเคลือบวิธีนี้สามารถป้องกันได้ทั้งความเสียหายเชิงกลและการกัดกร่อน อย่างไรก็ตาม ผิวเคลือบด้วยวิธีนี้ หากเตรียมผิวชิ้นงานไม่ดี อาจทำให้ผิวเคลือบหลุดออกได้ง่าย ทำให้เนื้อเหล็กมีโอกาสสัมผัสกับบรรยากาศและมีโอกาสที่รางวางสายไฟจะเกิดสนิมขึ้นได้อีก

  • การใช้เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel) เป็นการเลือกใช้โลหะที่มีความทนทานต่อการเกิดสนิม แต่ในกรณีที่ชิ้นงานต้องสัมผัสน้ำทะเล กรด ด่าง หรือไอระเหยของสารเคมี ตลอดเวลาอาจจะทำให้รางเกิดสนิมขึ้นได้อีก

  • การเลือกใช้วัสดุที่ไม่เกิดสนิม เช่น ไม้ พลาสติก เป็นอีกวัสดุทางเลือกที่สามารถใช้เป็นวัสดุทดแทนเหล็กได้ แต่ทั้งไม้และพลาสติกอาจไม่เหมาะกับงานบางประเภทเนื่องจากมีความเปราะ แข็งแรงตํ่า

  • การเลือกใช้วัสดุโพลีเอสเตอร์เสริมแรงด้วยไฟเบอร์กลาส (FRP) ซึ่งเป็นวัสดุทางเลือกอีกประเภทที่ออกแบบมาให้มีคุณสมบัติในการต้านทานการกัดกร่อน ป้องกันรางเกิดสนิม ที่มีน้ำหนักเบา

FRP cable ladder FRP cable tray

 

วัสดุทางเลือก
รางไฟเบอร์กลาส เบา
ไม่เป็นสนิม ติดตั้งง่าย

รางวางสายไฟที่ทำจากไฟเบอร์กลาส (FRP) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่น่าจะตอบโจทย์การใช้งานได้ดี โดยเฉพาะในจุดที่มีการกัดกร่อน หรือมีโอกาสเกิดสนิม เช่น บริเวณชายทะเล ในไลน์การผลิตที่มีไอสารเคมี หรือ บริเวณที่มีความชื้น เป็นต้น รางวางสายไฟเบอร์กลาส นอกจากจะทนต่อการกัดกร่อนแล้ว ยังมีความแข็งแรง น้ำหนักที่เบา และความเป็นฉนวนไฟฟ้า ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในงานซ่อมบำรุง ด้วยคุณสมบัติดังนี้ทำให้รางวางสายไฟจากไฟเบอร์กลาส เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งในอุตสาหกรรม

FRP Cable ladder ไม่เป็นสนิม วัสดุไฟเบอร์กลาส แข็งแรงทนทาน